Skip to content

กรด ไฮโปคลอรัส (Hypochlorous Acid)

คือ สารสำคัญที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ได้กว่า 90 ชนิด และดีกว่าแอลกอฮอล์ ที่ใช้ทางการแพทย์ โดยสามารถฆ่าเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็น Coronavirus เชื้อไวรัสไข้หวัดนก, Ebola, เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น (มีผลการศึกษาและงานวิจัยจากทั่วโลก รวมถึงมีบทความวิจัยจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO) 

Hypochlorous Acid คือ อะไร
ในร่างกายเรา จะเซลล์เม็ดเลือดขาว (white blood cells – neutrophils) ซึ่งจะสร้างกรดตามธรรมชาติ เรียกว่า Hypochlorous acid (HOCl) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย หรือระบบป้องกันของร่างกาย โดยที่ เซลล์เม็ดเลือดขาวนี้ จะทำการสร้าง Hypochlorous acid เพื่อเข้าไปฆ่าเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายของเรา โดยจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อและโปรตีนของตัวเชื้อโรค

Hypochlorous Acid ต่างกัน Sodium hypochlorite ไหม?
ถึงแม้ว่าพื้นฐานของทั้งสองอย่างจะมาจากตระกูลเดียวกัน คือ Chlorine แต่ทว่ามีความแตกต่างกัน
1. Hypochlorous acid มีสูตรทางเคมี คือ HOCl มีสภาพความเป็น กรดอ่อน ๆ (ไม่ต้องตกใจ เพราะในร่างกายเราก็มีกรดเช่นกัน เช่น น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร)  และความเป็นกรดอ่อน ๆ นี้ มีค่า pH ใกล้เคียงกับระดับความเป็นกรด/ด่างของร่างกาย ดังนั้น HOCl นี้ จึงเป็นสิ่งที่เข้ากันได้กับร่างกายภูมิคุ้มกันของมนุษย์อยู่แล้ว (นี่จึงเป็นอีกเหตุในการที่สามารถนำมาล้างแผล หรือ ทำความสะอาดแผลได้ โดยไม่แสบ) อีกทั้ง Hypochlorous acid จึงได้รับการอนุมัติโดยองค์การอาหารและยา, กระทรวงเกษตร (US. Department of Agriculture Organic) และ องค์การอนามัตโลก (WHO) ให้ใช้เป็นสารละลายที่นำมาใช้ในการฆ่าเชื้อ Coronavirus ที่ก่อให้เกิด Covid ได้ อีกทั้งปลอดภัยกับผิวและล้างผัก ผลไม้ ได้
2. Sodium Hypochlorite มีสูตรทางเคมี คือ NaClO ซึ่งถือว่าสภาพมีฤทธิ์เป็น “ด่าง” ซึ่งมักถูกนำมาใช้เป็นสารฟอกขาว และยังคงระคายเคืองต่อผิว, ปอด, และตา จึงควรต้องพิจารณาในการใช้งานและทำลายด้วยความระมัดระวัง (ขึ้นกับความเข้มข้น) 

Hypochlorous Acid ปลอดภัยไหม?
ในหลักการ หากมีความเข้มข้นที่เหมาะสม Hypochlorous acid มีความปลอดภัยสูง เพราะเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์และสัตว์ (จึงสามารถใช้กับสัตรว์ได้เช่นกัน)
หมายเหตุ: ทั้งนี้ เครื่องที่ผลิต Hypochlorous acid ไม่ได้สร้างมาเหมือนกัน และ 95% ในท้องตลาดจะแยกน้ำเกลือออกมาเป็นสารผสมระหว่าง Hypochlorous acid และ Hypochlorite
* KLEOMax เป็นเครื่องระบบพกพาเพียงหนึ่งเดียวในประเทศที่ใช้เทคโนโลยีแยกออกมาได้แต่ Hypochlorous

เทคโนโลยีในการแยกน้ำเกลือเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อ (Hypochlorous acid)

การแยกสารละลายหรือน้ำด้วยไฟฟ้า หรือ Electrolysis นี้ มีมาไม่ต่ำกว่า 233 ปี หรือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2332 (1789) โดยชาวดัชช์ Jan Rudolph Deiman และ Adriaan Paets van Troostwijk และถูกนำมาอธิบายโดยไมเคิล ฟาราเดย์ในช่วงปี พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1830) หรือ เกือบ 200 ปีมาแล้ว ดังนั้น เทคโนโลยีในการสร้าง Hypochlorous acid และ Sodium Hypochlorite เกิดขึ้นจากกระบวนการแยกสารละลายน้ำเกลือด้วยไฟฟ้า หรือ กระบวนการ Electrolysis นั่นเอง 

Traditional of Electrolysis

กระบวนการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า เป็นกระบวนการที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ผ่านแท่งนำไฟฟ้า (Electrode)  ซึ่งเป็นวิธีการแยกสารละลายด้วยไฟฟ้าที่เป็นพื้นฐานและอุปกรณ์ในท้องตลาด (เกือบทั้งหมด) ที่สร้าง Hypochlorous acid ใช้กัน วิธีนี้ จะส่งผลให้ Hypochlorous acid และ Sodium Hypochlorite ปนกัน ส่งผลให้ประสิทธิผลในการฆ่าเชื้อลดลง (เพราะประสิทธิผลในการฆ่าเชื้อที่เราต้องการ คือ Hypochlorous acid แต่เมื่อผสมกัน สารละลายจะมีค่า pH เป็นด่างประมาณ 8)

Membrane Electrolysis

การแยกสารละลายด้วยไฟฟ้า ผ่านเยื่อ membrane นี้ เป็นวิธีที่ซับซ้อนขึ้น โดยเยื่อ membrane นี้เป็นสิทธิบัตรของบริษัท Dupont โดยสามารถกั้นเพื่อแยกสารละลายที่เป็นกรด (HOCl) และด่างออก (์NaOH) ดังนั้น จะได้ Hypochlorous acid ที่ไม่มีด่างเข้ามาปน โดย KLEOMax™ (KM-B01) เป็นผลิตภัณฑ์พกพาหนึ่งเดียว ในประเทศไทยที่ใช้เทคโนโลยีนี้

Cell Electrolysis Module

เป็นการประยุกต์ใช้ membrane เหมือนเทคโนโลยีก่อนหน้า แต่ จัดทำเป็นโมดูลมี 2 ช่องแยกกันเพื่อให้สามารถแยกสารละลายขณะที่น้ำไหลผ่านทันที (เหมือนเปิดก๊อกน้ำ) ดังนั้น น้ำที่ไหลผ่านโมดูลออกมาจะได้ Hypochlorous acid และด่าง NaOH แยกออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะใช้กับระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 

Electrolysis และคุณสมบัติ Hypochlorous acid

เทคโนโลยีในการแยกด้วยไฟฟ้านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมันเกิดมาเกิน 150 ปีแล้ว ตั้งแต่โลกเรามีไฟฟ้าใช้ โดยในการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า  คือ กระบวนการกระตุ้นทางเคมี-ไฟฟ้าของน้ำเกลือ หรือ Electro-Chemical Activation (ECA) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผล และปลอดภัยในการสร้างน้ำยาฆ่าเชื้อจากธรรมชาติ (ใช้เกลือแกงบริสุทธิ์ – NaCl)  หรือน้ำเกลือประมาณ 0.25%  ทั้งนี้หากเป็นน้ำเกลือทางการแพทย์ที่ใช้ในการล้างแผล หรือ ที่เราหาซื้อกันตามร้านขายยา ที่เรียกว่า Normal Saline นี้จะเข้มข้นที่ 9% ก็สามารถนำมาเทล้างแผลได้ทันที

KLEOMax™  (Model KMX-01) จะใช้ขั้วบวก (Anode) ที่ทำจากโลหะไททาเนียม ชุบรูทีเนียมและเออริเดียม เพื่อให้ทนต่อการกัดกล่อน (Titanium Ruthenium-Iridium Coated) และ ใช้แผ่นเยื่อเมมเบรน ที่ทำให้ประจุไฟฟ้าเท่านั้นที่วิ่งผ่าน (unidirectional permeable membrane) ส่งผลให้ประจุอิออนแยกก๊าซครอลีนออกมาจากสารละลาย ในขณะที่สร้าง Hypochlorous Acid ที่มีค่า pH  เป็นกลาง (มีประสิทธิผลสูงสุดในการฆ่าเชื้อ ไม่เป็นอันตรายต่อเยื่อบุต่างของทั้งมนุษย์และสัตว์ ทำให้สามารถนำมาล้างแผลได้โดยไม่แสบ หรือ นำมาล้างหน้าได้  ทั้งนี้ หากเป็นเครื่องยี่ห้ออื่น ๆ ที่ไม่มี Membrane จะส่งผลให้มีค่า pH เป็นด่าง หรือมี Hypochlorite ที่เป็นสารฟอกปน อาจส่งผลต่อการระคายที่ผิวหนังได้) 

จากรูปข้างต้นจะเห็นว่า HOCl เมื่อเกิดขึ้นจากกระบวนการแยกด้วยไฟฟ้า ประสิทธิผลที่ดีที่สุด คือ อยู่ในช่วง pH 4.0 – 5.33 (เส้นโค้งสีม่วงเข้ม) ซึ่ง KLEOMax สามารถสร้างให้อยู่ในช่วง 4.5 – 6.5 
KLEOMax™ ถือได้ว่า เป็นเครื่องขนาดพกพาเพียงยี่ห้อเดียวในประเทศไทย (ข้อมูล ณ ก.ย. ปี 2565) ที่สามารถทำได้ โดยจากการแยกน้ำเกลือ โดยไม่ต้องใส่สารอื่นใดเพิ่มเติม (เครื่องในท้องตลาดบางรุ่นแนะนำให้ใส่น้ำส้มสายชู)

ทั้งนี้ ในระบบอื่น ๆ ที่มีขาย ที่ไม่มีเทคโนโลยี Membrane  จะส่งผลให้เกิด Hypochlorite ซึ่งถือได้ว่าเป็นสารฟอกที่มีฤทธิ์เป็นด่างเจือปน ทำให้ เมื่อแยกเสร็จแล้ว ค่า pH รวมจะประมาณ 8.2 และเมื่อดูจาก กราฟข้างต้น เราจะเป็นว่า ค่า HOCl จะเหลือเพียง 20% นั่น คือ ทำไมเครื่องยี่ห้ออื่น ๆ ในตลาดต้องทำให้เกิดความเข้มข้นที่สูงเข้าไว้

เนื่องจากหากเรามี Total Chlorine = 100 ppm จะส่งผลให้เหลือ HOCl ที่มีประสิทธิผลในการฆ่าเชื้ออยู่ที่ 20 ppm เท่านั้น (ทั้งนี้ จากบทความทางวิชาการต่าง ๆ ที่ท่านศึกษาได้จาก Google จะเห็นว่า หากต้องการให้ฆ่าชื้อต่าง ๆ ได้ ควรอยู่ที่ 50-200 ppm.) นั่นคือ หากเราต้องการ 50 ppm. (ขั้นต่ำ) ในเครื่องทั่วไปท่านต้องต้องทำให้เกิด Total Chlorine ที่ 250 ppm. เป็นอย่างน้อย

แต่เครื่อง KLEOMax ในโหมด 2 (5 นาที) สามารถทำให้เกิด HOCl ที่ 50-60 ppm. ด้วยเกลือเพียง 1 ช้อนชา  (ที่แถมไป) และหากพิจารณาเครื่องที่ขายทั่วไปในท้องตลาดมักให้ใช้เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ) อีกทั้งมีค่า pH เป็นกลางอันไม่ทำร้ายเยื่อบุต่าง ๆ ของมนุษย์และสัตว์

Hypochlorous Acid ปลอดภัยหรือไม่?

Hypochlorous acid เป็นสิ่งที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาได้เอง ดังนั้น สารนี้ จึงปลอดภัยกับร่างกาย (ทุกอย่างถ้าไม่มากเกินไปไม่มีปัญหา เช่น ถ้าความเข้มข้นของ HOCl ไม่เข้มข้นสูงมากจนเกินไป เช่น เกินกว่า 500 ppm.) 

สารนี้โดยตัวมันเองจึงไม่ใช่สารพิษ และหากมีกระบวนการผลิตที่ดี เช่น KLEOMax  จะทำให้มีค่าความเป็นกรด/ด่าง หรือ pH เป็นกลางเมื่อล้างแผลจะไม่แสบ ทั้งนี้ หากพิจารณาการทำงาน มันคือการแยกน้ำเกลือ (จากธรรมชาติ) และจากสารตั้งต้นที่เป็นเกลือบริโภคจากธรรมชาติ จึงไม่มีสารเคมีอื่น ๆ เจือปน และเมื่อแยกด้วยไฟฟ้า เกลือนี้ จะกลายเป็น คลอรีน ดังนั้นเราจะได้กลิ่นคลอรีนออกมา

คลอรีน โดยปกติถูกนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อในน้ำประปาหรือสระว่ายน้ำ  แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ใส่ลงไปเป็นสารเคมีคือ ผงคลอรีน แต่ KLEOMax แยกน้ำเกลือให้กลายเป็นคลอรีน จึงให้ผลที่ดีกว่าต่อร่างกาย และเครื่อง KLEOMax ใช้เทคโนโลยี Membrane จึงทำให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ที่แตกต่างจากเครื่องอื่น ๆ ในท้องตลาด กล่าวคือ จะได้ Hypochlorous Acid ที่เสถียรที่ทำให้มีฤทธิในการฆ่าเชื้อสูงสุด (โดยไม่ต้องเติมน้ำส้มสายชู ที่เหม็นและฉุนเวลาฉีดตัว หรือสารเคมีใด ๆ ลงไป) อีกทั้งให้ค่า pH Neutral หรือ Balanced (ใช้ Mode 1 และ 2 ในการทำงาน) จึงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ต่อผิวสัมผัส ดวงตา ระบบหายใจ   และสามารถใช้ล้างแผลสดได้ (ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย ไม่แนะนำให้กลืนหรือใช้กับดวงตาโดยตรง)  

ดังนั้น KLEOMax จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ที่จะมีประจำบ้าน

Hypochlorous Acid มีข้อเสียหรือไม่?

Hypochlorous acid เป็นสิ่งที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาได้เอง จึงไม่มีข้อเสียต่อร่างกาย (ยกเว้นใช้ปริมาณความเข้มข้นที่สูงมาก ๆ)

อย่างไรก็ตามไม่มีอะไรในโลกนี้ที่ไม่มีข้อเสีย หากแต่สารจากการผลิตนี้ มีข้อจำกัดในการใช้งาน คือ

1. ไม่ควรใช้ฉีดโลหะ (ที่ไม่ได้เคลือบกันสนิม) หากมีการฉีดโลหะ ให้เช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง เพื่อลดความเป็นเกลือ อันอาจทำให้เกิดสนิมได้ หมายเหตุ: ไม่ควรฉีดขั้วโทรศัพท์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เนื่องจากอาจทำให้เกิดสนิม

2. ไม่สามารถรักษาค่า pH ได้ตลอดเนื่องจากมันจะมีการ Degrade ตัวมันเองทำให้กลายเป็นน้ำเกลือภายใน 40 วัน และแน่นอนว่าฤทธิในการฆ่าเชื้อจะค่อย ๆ ลดลงด้วยเช่นกัน น้ำยาที่ผลิตโดยเครื่อง KLEO

3. ห้ามโดนแสงอาทิตย์ หรือ UV เนื่องจาก Hypochlorous acid จะสลายภายใน 1 ชั่วโมง ดังนั้น จึงแนะนำให้ใส่ในขวดทึบแสง

4. ควรเก็บในที่เย็น จากการทดลองหากเก็บในขวดทึบแสดงและอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้นานถึง 30 วัน (จากการใช้ KLEOMax โหมด 3)  อย่างไรก็ตามแนะนำให้ทำใหม่ทุกอาทิตย์ (สามารถใช้ของเดิมนำมาแยกใหม่ได้ โดยที่ไม่ต้องผสมทำน้ำเกลือใหม่)